วันนี้จะมาเขียนถึงเรื่องการหาอนุพันธ์โดยใช้คอมพิวเตอร์ให้อ่านกันครับ โดยต้องเข้าใจก่อนว่าค่าอนุพันธ์ที่จะทำการหาต่อไปนี้จะได้ตัวเลขที่จุดนั้นออกมาเลย ไม่ใช่ได้ฟังก์ชันออกมา ซึ่งเหมาะจะนำไปใช้หลายงานที่ใช้ค่าเพียงจุดเดียว หากต้องการหาอนุพันธ์ออกมาเป็นฟังก์ชันแล้วล่ะก็จำเป็นจะต้องเอาไปทำการ ประมาณค่าในช่วง (Interpolation) หรือทำการ Curve fitting ก่อน ซึ่งสำหรับเนื้อหาเหล่านี้ ไว้ว่ากันต่อในลำดับถัดไปแล้วกันครับ
ขอออกนอกเรื่องไปนิดนึงก่อน ว่าบล็อคของผมเนี่ยที่นานๆ มาเขียนทีเหมือนล้มหายตายจากไปแล้ว แต่ก็ยังมีคนเข้ามาอ่านอยู่เรื่อยๆ อย่างหน้าแปลกใจ แล้วพอมาดูความนิยมพบว่าเรื่องอย่าง กฎโลปิตาล กลับได้รับความนิยมสูงมาก ก็เลยคิดว่า ถ้าเอาเรื่องเกี่ยวกับที่เรียนๆ แล้วจะสอบมานั่งเขียนเนี่ยน่าจะมีคนรออ่านเยอะนะ [ฮ่า] เอาล่ะเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า
พูดถึงอนุพันธ์กันก่อน
อนุพันธ์นี่ได้มาจากสิ่งที่ความต่างน้อยกันมากๆ หลายคนอาจรู้จักนิยามมาในรูป ซึ่งเมื่อแปลงเป็นทฤษฏีบทแล้วจะได้ว่า นั่นคือการหาค่าความเปลี่ยนแปลงที่น้อยมากๆ นั่นเอง ซึ่งด้วยการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ ก็พบว่าอนุพันธ์ที่จุดใดจุดหนึ่งนอกจากจะใช้สองแบบข้างต้นได้แล้ว ยังสามารถใช้กับ และ ได้อีกด้วย
หาค่าอนุพันธ์โดยใช้สองจุด
สำหรับหัวใจสำคัญของวิธีนี้คือเลือกให้ช่วง มีขนาดที่แคบมากๆ เราก็จะได้ค่าอนุพันธ์ในจุดที่ต้องการมาแล้วอย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะใช้ทางลบหรือทางบวกก็ตาม
ตัวอย่างจะหาค่า จากการหาอนุพันธ์ โดยจะหาคำตอบด้วย ด้วยการเลือก โดยจะหาคำตอบด้วย ที่มีค่าน้อยมากๆ จนถึงที่เราต้องการ เช่นเลือกค่า ซึ่งเขียนโค้ดเป็นภาษาซี ได้ดังนี้
ซึ่งได้ค่าออกมาเป็น cos(1) = 0.540302
และ d/dx sin(1) = 0.540296
ซึ่งค่าต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยการใช้สมการอื่นเช่น และ จะให้ความละเอียดที่ใกล้เคียงกัน แต่ก็ยังทีวิธีทำให้ค่าสามารถเข้าใกล้เคียงได้มากกว่านี้อีก
เพิ่มความละเอียดด้วยวิธีสามจุด
วิธีสองจุดคือการเลือกจุดสองจุดที่ค่า ห่างกันน้อยมากๆ แต่ก็ยังคลาดเคลื่อนอยู่เนื่องจากจุดแค่สองจุด จึงเพิ่มข้อมูลจุดเข้าไปเพื่อให้ใกล้เคียงมากขึ้น โดยจะหาจากสมการดังนี้ โดยเราจะเลือกหาอนุพันธ์ของ โดยเลือก เช่นเดิม ซึ่งเขียนเป็นโค้ดภาษาซีได้ดังนี้
ซึ่งได้ค่าออกมาเป็น cos(1) = 0.540302
และ d/dx sin(1) = 0.540302
เรียกได้ว่า เกือบ เท่ากันแล้ว แต่ที่ยังใช้คำว่าเกือบ เพราะถ้าลองขยายทศนิยมเป็น 12 ตำแหน่งดูจะเห็นว่า cos(1) = 0.540302305868
และ d/dx sin(1) = d/dx sin(1) = 0.540302305858
ซึ่งหากเราต้องการความละเอียดมากกว่านี้ก็ยังมีวิธีที่เพิ่มให้ละเอียดได้ยิ่งกว่านี้อีก
ความละเอียดขั้นสุดยอดไปกับ Richardson’s extrapolation
สำหรับวิธีของริชาร์ดสันนั้นจะให้ เป็นฟังก์ชันที่เราสนใจ โดยเราจะสนใจการหาค่าอนุพันธ์ด้วย ก็จะได้ว่าให้ ซึ่ง Richardson’s extrapolation ให้ โดยตัวอย่างโค้ดภาษาซีต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นถึงการใช้วิธีของริชาร์ดสันที่
จะเห็นว่า d/dx sin(1) = 0.540298025927
ซึ่งค่าใกล้เคียงกับ มากกว่าเมื่อเทียบกับการใช้วิธีสองจุด
ทิ้งท้าย
นอกจากสามวิธีนี้ในการหาค่าอนุพันธ์ที่จุดต้องการแล้ว ยังมีวิธีอื่นอีกแต่ถ้าถามผมว่าผมเขียนอันไหนผมก็คงเขียนสองจุดนั่นและครับ มันเข้าใจง่ายดี แต่มันดันบังเอิญออกสอบสามตัวนี้น่ะสิ ผมก็เลยต้องจำไปสอบ ;-;