ถ้าคุณนึกถึง CMS คุณจะนึกถึงอะไร ถ้าเป็นผมจะคิดถึงโค้ดที่เมื่อเราลากขึ้นไปวางบนเซิฟเวอร์แล้ว เมื่อคลิกไม่กี่ที แต่งนิดปรุงหน่อย เพิ่มโค้ดลงไปบ้างเล็กน้อยเราจะได้เว็บที่สมบูรณ์แบบสุดๆออกมา ซึ่งมันเป็นอะไรที่ใช้งานได้ง่ายมาก แม้บางที่คนใช้จะไม่มีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมแม้แต่นิดเดียวก็สามารถสร้างเว็บออกมาได้ง่ายได้ และหน้าตาที่ทุกๆคนคิดถึงก็คงจะเป็นแบบนี้
แต่ทว่า Jekyll (เจเกิล) นั้นไม่ได้สามารถลากและวางธรรมดาๆได้เหมือน CMS ทั่วไป หน้าตาของมันนั้นเป็น command line ที่เห็นแล้วดูใช้งานยากสุดๆ
นี่ก็เพียงพอที่จะบอกได้ว่า Jekyll ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับมือใหม่ แต่มันสร้างขึ้นเพื่อให้มือเก๋าเป็นคนใช้งาน ซึ่งสิ่งที่เราควรรู้ก่อนใช้ Jekyll ก็คือพื้นฐานในการเขียนเว็บ front-end ทั่วไป เช่น html markdown css sass เป็นต้น
ต่อขออธิบายก่อนว่า Jekyll เป็น CMS นี่ใช้เพื่อสร้าง static webpage (เว็บเพจสถิต) ซึ่งต่างจาก wordpress,ghost,drupal หรือ joomla ซึ่งเป็น dynamic webpage (เว็บเพจพลวัต) นั่นก็คือเซิฟเวอร์ที่นำหน้าเว็บที่สร้างจาก Jekyll ไปวางไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลหรือตัวแปลงภาษาใดๆ เนื่องจาก Jekyll ได้ทำการแปลงโค้ดให้กลายเป็น html ตั้งแต่อยู่บนเครื่องของโปรแกรมเมอร์แล้ว
ด้วยการที่ Jekyll ไม่ต้องประมวลผลบนเซิฟเวอร์นี่เอง ทำให้เป็น CMS ที่น่าสนใจอีกตัวนึง เพราะเราไม่ต้องตามอัปเดต CMS บ่อยๆ เพื่อแก้ปัญหาบัคความปลอดภัย เนื่องจากแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะแฮกเว็บที่เป็น static page และใช้ทรัพยากรของเซิฟเวอร์น้อยทำให้สามารถรองรับคนได้ปริมาณมากแม้ไม่ได้ใช้เซิฟเวอร์ราคาแพง
นอกจากนี้แล้วเบื้องหลังบริการ Github Pages ก็มีการใช้งาน Jekyll อีกด้วย
และจากที่ผมได้ลองใช้ Jekyll มาสักระยะ ผมจึงขอสรุปข้อดีและข้อเสียของ Jekyll ไว้ดังนี้
####ข้อดี
- ใช้ทรัพยากรเซิฟเวอร์น้อย
- ไม่จำเป็นต้องอัปเดตบ่อยๆ
####ข้อเสีย
- ใช้งานยากจำเป็นต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมในการใช้งาน
- ไม่สามารถใช้ความสามารถที่เป็น dynamic ได้เช่นค้นหา
แล้วไว้วันหลัง ผมจะมาสอนวิธีการใช้งาน Jekyll แบบละเอียดครับ