ทุกๆปีจะมีการแข่งขันการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NSC) ปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 18 และปีนี้มีหัวข้อพิเศษนั่นคือ Artificial Intelligence Application ซึ่งนี้หัวข้อนี้น่าจะเป็นตัวชี้วัดได้ดีว่า ประเทศไทยกำลังมีแนวโน้มในการสร้างปัญญาประดิษฐ์ไปในด้านใด
โดยการแข่งขันโปรแกรมประเภท Artificial Intelligence Application มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 34 โครงการจากทั้งหมดทุกประเภทรวมกัน 1,659 โครงการ
แบ่งตามหัวข้อ
ซึ่งเราสามารถแบ่งหัวข้อ Artificial Intelligence Application ตามที่ได้อธิบายไว้บนหน้าเว็บของ NSC ยังแบ่งย่อยได้อีกเป็น 8 หัวข้อ ประกอบไปด้วย
-
คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer vision) เป็นโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น การรู้จำภาพ และประมวลผลภาพ (Image processing) เป็นต้น
-
การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine learning) เป็นโปรแกรมที่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ ทำให้เครื่องจักรสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้คล้ายมนุษย์ เช่น การสังเคราะห์โปรแกรมหรือกฏ (Program and rule synthesis) การคิดให้เหตุผล (Inference หรือ Automated reasoning) เพื่อให้เหตุผลในการแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างอัตโนมัติจากความรู้ที่มีอยู่ในเครื่อง การให้เหตุผลด้วยวิธีใดนั้นขึ้นอยู่
-
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system) เป็นโปรแกรมที่เกี่ยวกับการจัดเก็บและการใช้งานความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องใดเฉพาะอย่าง เช่น การแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ จุดประสงค์ของโปรแกรม คือ การให้คำปรึกษาแทนผู้เชี่ยวชาญ โดยคอยตอบคำตอบเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ
-
วิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics) เป็นโปรแกรมเกี่ยวกับการสร้างหุ่นยนต์หรือสมองกลที่ข่วยงาน มนุษย์ได้
-
การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural language processing) เป็นโปรแกรมในการจัดการภาษามนุษย์ เช่น การแปลภาษา การวิเคราะห์ประโยค การเข้าใจความหมายข้อความ การสืบค้นข้อมูล การย่อความ การแปลงเสียงพูดเป็นตัวอักษร การแปลงตัวอักษรเป็นเสียงพูด การถามตอบอัตโนมัติ เป็นต้น
-
การแทนความรู้ (Knowledge representation) เป็นโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิธีการจัดเก็บความรู้ (Knowledge) ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอยู่ในรูปแบบที่กระทัดรัด ประหยัดหน่วยความจำ นำความรู้ที่เก็บไว้นี้ไปใช้ในการให้เหตุผล และ การเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง การออกแบบการจัดเก็บความรู้ ทั้งความรู้ที่แน่นอน (Certain knowledge) ด้วยตรรกศาสตร์ เช่น First order logic หรือ Propositional logic และ ความรู้ที่มีความไม่แน่นอนมาเกี่ยวข้อง (Uncertain knowledge) เช่น ฟัซซี่ลอจิก (Fuzzy logic) และเครือข่ายแบบเบย์ (Bayesian networks)
-
ชีวิตประดิษฐ์ (Artificial life) เป็นโปรแกรมเกี่ยวกับพฤติกรรมของชีวิตเทียมที่เราออกแบบและสร้างขึ้น
-
ปัญญาประดิษฐ์แบบกระจาย (Distributed Artificial Intelligence) เป็นโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง เพื่อบรรลุงานที่ได้รับมอบหมาย
ซึ่งผมจะแสดงตารางจำนวนผู้เข้าแข่งขันในแต่ละหัวข้อ โดยจัดหมวดหมู่จากชื่อเรื่องด้วยความเข้าใจของผมเอง หากผิดพลาดในการจัดหมวดหมู่หัวข้ออย่างไรผมก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
หัวข้อที่ได้รับการสนใจ
ชื่อหัวข้อ | โครงการ |
---|---|
คอมพิวเตอร์วิทัศน์ | 11 |
การเรียนรู้ของเครื่อง | 7 |
ระบบผู้เชี่ยวชาญ | 7 |
วิทยาการหุ่นยนต์ | 5 |
การประมวลผลภาษาธรรมชาติ | 3 |
การแทนความรู้ | 1 |
ชีวิตประดิษฐ์ | 0 |
ปัญญาประดิษฐ์แบบกระจาย | 0 |
คอมพิวเตอร์วิทัศน์
- อุปกรณ์แจ้งเตือนอาารง่วงนอนขณะขับรถโดยการตรวจจับดวงตา
- ระบบนับรถยนต์อัตโนมัติ
- การตรวจจับเลขสายรถประจำทางบนภาพถ่าย
- โปรแกรมการจำแนกฟันจากภาพเอกซเรย์โดยวิธีการเข้าคู่รูปแบบ
- โปรแกรมวิเคราะห์กระดาษคำตอบแบบตัวเลือก ด้วยการประมวลผลภาพดิจิตอล
- แอปพลิเคชันการแสดงภาพล้อแม็กรถยนต์โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง
- การสร้างตัวละครเสมือนที่คล้ายคลึงกับผู้ใช้โดยใช้รูปถ่ายหน้าตรง
- ระบบเซ็นเซอร์ภาพอัตโนมัติ
- การใช้ใบหน้าควบคุมแท็บแล็ตคอมพิวเตอร์ (กรณีศึกษา : การใช้ใบหน้าควบคุมไฟล์ PDF)
- อุปกรณ์ควบคุมกล้องถ่ายภาพตามแทรคกิ้ง
- เครื่องตรวจสอบลักษณะเท้า
การเรียนรู้ของเครื่อง
- ระบบการจำแนกความรู้สึกแบบสองภาษาอัลกอริทึมการเรียนรู้แบบมีผู้สอน
- การคาดการณ์ดัชนีราคาหุ้นขึ้นอยู่กับอนุกรมเวลาและวิธีการหาค่าที่เหมาะสมแบบกลุ่มอนุภาค
- แอปพลิเคชั่นทำนายแนวโน้มของหุ้นโดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเรียนรู้เชิงลึก
- เว็บแอปพลิเคชั่นการจำแนกพันธุ์สุนัขโดยวิธีการการเรียนรู้เชิงลึก
- โปรแกรมจำแนกประเภทอาหารของอาหารไทยยอดนิยม 5 ชนิด
- โปรแกรมสำหรับตรวจจับและแยกชนิดเชื้อมาลาเรีย
- ระบบคาดการณ์ฝนตกและการประมวลผลภาพเพื่อวัดระดับน้ำท่วม
ระบบผู้เชี่ยวชาญ
- แอพพลิเคชั่นการค้นหาเส้นทางที่สั้นที่สุดในการบอกตำแหน่งห้องในรูปแบบ 3D ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
- ระบบแนะนำการเลือกหลักสูตรเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคตัวกรองแบบอิงเนื้อหา กรณีศึกษาศูนย์แนะแนวศึกษาต่อออสเตรเลีย (AVSS)
- โปรแกรมแนะนำทรงผมจากลักษณะของใบหน้าสำหรับผู้หญิง
- กูรูด้านอาหารและการออกกำลังกาย
- ระบบผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์บุคคลในราชวงศ์จักรี
- ระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการออม
- ระบบเว็บเบสเพื่อวินิจฉัยโรคเบื้องต้นและแนะนำการรักษาด้วยสมุนไพร
วิทยาการหุ่นยนต์
- การประยุกต์ใช้ระบบนิวแมติกส์ร่วมกับ PLC ในการสร้างหุ่นยนต์เล่นดนตรีอัตโนมัติร่วมกับมนุษย์
- หุ่นยนต์เลียนแบบ
- แขนกลคัดแยกขนาดไข่ไก่
- เครื่องขายเสื้ออัตโนมัติ
- มือกล
การประมวลผลภาษาธรรมชาติ
- การวิเคราะห์อารมณ์และความรู้สึกจากข้อความรีวิวผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
- ระบบจำแนกระดับอารมณ์สำหรับภาษาไทย
- เว็บแอพลิเคชันสำหรับการสกัดข้อเท็จจริงจากข้อความภาษาไทย
การแทนความรู้
- การเยื้องเพื่อการรู้จำภาษาธรรมชาติอย่างชาญฉลาด
แบ่งตามสถานศึกษา
สถาบันศึกษา | โครงการ |
---|---|
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง | 6 |
มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ | 4 |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต | 4 |
มหาวิทยาลัยขอนแก่น | 3 |
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ | 3 |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | 2 |
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน | 2 |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตเชียงราย | 1 |
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | 1 |
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร | 1 |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี | 1 |
โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี | 1 |
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | 1 |
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา | 1 |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | 1 |
มหาวิทยาลัยทักษิณ | 1 |
ไม่ระบุ | 1 |
หมายเหตุ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีโครงการที่ไม่ได้ระบุวิทยาเขต มหาวิทยาลัยละ 1 โครงการ
ทิ้งท้าย
ผลนี้ไม่อาจจะไม่ใช่แนวโน้มที่ไม่แน่นอน เพราะอาจจะมีผลงานที่ไม่ส่งประกวดก็ได้ ดังนั้นใช้เพียงแค่ประกอบการตัดสินใจเท่านั้น ไม่ควรยึดถือผลนี้เป็นหลักนะครับ
อ้างอิง : ข้อมูลจากระบบ GENA